วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8




แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6



แบบฝึดหัดท้ายบทที่ 5


 

NVIDIA 3DTV Play






NVIDIA 3DTV Play
3d-1
NVIDIA 3DTV Play  ก็ตามชื่อเลยนะครับว่ามันจะต้องเกี่ยวกับ 3 มิติแน่นอน เพราะในปัจจุบันอะไรๆก็เริ่มเป็น 3 มิติมากขึ้นไปทุกที ไม่ว่าจะเป็นทีวี 3 มิติ, แว่น 3 มิติ, ภาพยนตร์ 3 มิติ, ข่าว 3 มิติ เอ๊ย !! ไม่เกี่ยวครับผม ดังนั้นทาง NVIDIA ก็ไม่ยอมตกเทรนด์ 3 มิตินี้ด้วยเช่นกัน จึงได้ทำการส่ง 3DTV Play มาให้เราๆท่านๆได้ใช้กัน ซึ่งการที่จะใช้งานได้ โดยหลักๆเลยก็คือจอต้องมีสิ่งต่างๆดังนี้ครับ

3d-2
  • คอมพิวเตอร์ที่ใช้ GPU ของ NVIDIA (แน่นอนละครับ ^^) บน Windows Vista หรือ Windows 7
  • จอที่รองรับ 3D Vision-Ready
  • ตัวส่งสัญญาณ 3D ผ่านทางคลื่นอินฟราเรดแบบ USB หรือ Notebook ที่มีตัวส่งสัญญาณ 3D ในตัว
  • แว่น 3 มิติของทางผู้ผลิตจอรุ่นนั้นๆ (ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้เฉพาะแว่นของทาง NVIDIA ครับ)

ซึ่งสามารถดูรายชื่อของอุปกรณ์ที่รองรับ NVIDIA 3DTV Play ได้จาก ตรงนี้ ครับ
สำหรับสิ่งที่ 3DTV Play สามารถใช้งานได้ในขณะนี้ก็มีดังนี้ครับ
  • ทำงานร่วมกับ HDMI 1.4 บน 3D TV และแว่น 3D ของเครื่องนั้น
  • รับชมภาพยนตร์ Blu-ray ในรูปแบบ 3D ในระดับความคมชัด 1080p
  • เปลี่ยนจากเกมธรรมดาๆให้กลายเป็นเกม? 3D ได้ ตัวอย่างเกมที่รองรับก็เช่น? Call of Duty Black Ops?,? Mafia II? เป็นต้น
  • รับชมสไลด์โชว์ภาพ ในรูปแบบ 3D จากทีวีของคุณเอง

3d-3





Intel core i7


Intel core i7 โปรเซสเซอร์สุดยอดแห่งยุค




ความเร็วที่น่าทึ่งสำหรับงานที่หนักที่สุด ก้าวสู่อีกระดับของประสิทธิภาพแบบ Multi-core ด้วย Intel® Core™ i7 โปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท็อปที่ดีที่สุด โปรเซสเซอร์ตระกูลนี้ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเพื่อมอบขุมพลังสำหรับการประมวลผลในทันทีที่คุณต้องการ นอกจากนี้ ความเร็วและประสิทธิภาพที่เหลือเชื่อของ Intel Core i7 จะช่วยให้คุณทำงานแบบ Multitaskได้เร็วขึ้น 25% พร้อมทึ่งไปกับประสบการณ์การสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย

คุณสมบัติหลัก

การสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัด ปลดปล่อยจินตนาการของคุณสู่โลกกว้าง Intel® Core™ i7 ช่วยให้การสร้างเนื้อหาแบบดิจิตอลทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนด้วยการเข้ารหัสวิดีโอที่รวดเร็วขึ้นถึง 40%และประสิทธิภาพที่น่าทึ่งสำหรับการใช้งาน แอพพลิเคชั่นเช่น การเรนเดอร์ภาพรวมถึงการรีทัช และการตัดแต่งภาพ

วิธีการที่ชาญฉลาดกว่าในการทำงานและเล่น

Intel Core i7 ให้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นมัลติมีเดียที่ซับซ้อน หรือเพียงแค่เขียนอีเมล ด้วย หน่วยความจำที่มากกว่า สองเท่า‡3 และประสิทธิภาพแบนด์วิดธ์สำหรับการเข้าถึงหน่วยความจำได้อย่างรวดเร็ว คุณจึงไม่ต้องนั่งรออีกต่อไปเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์

เส้นทางการไหลเวียนของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

สร้างขึ้นโดยใช้ Intel® Hyper-Threading Technology (Intel® HT Technology) ประสิทธิภาพสูงสุดของ Intel Core i7 มาจากแกนประมวลผล 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะประกอบด้วย 2 Thread แทนที่จะมีเพียง 1 Thread ข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน 8 Thread ช่วยให้คุณสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้พร้อมกันมากขึ้นและทำงานได้มากกว่า

การเล่นเกมที่เหนือขอบเขต

สัมผัสขุมพลังสูงสุดสำหรับเกมที่ซับซ้อนที่สุดของวันนี้ ด้วยการกระจาย AI ระบบฟิสิกส์ และการเรนเดอร์ไปยังซอฟท์แวร์ 8 Thread ที่ Intel Core i7 ช่วยให้คุณเอาชนะเหล่าร้ายในขณะที่พีซีของคุณกำลังรับมือกับการเรนเดอร์ภาพ และการเล่นเกมขั้นสูงในอนาคตสมรรถนะตามความต้องการต้องขอบคุณ Intel® Turbo Boost Technology7 ที่ทำให้คุณได้รับพลังการประมวลผลในทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ คุณลักษณะที่ชาญฉลาดนี้ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานเพื่อรองรับภาระงานของคุณ คุณจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับความเร็วสูงสุดเมื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นซึ่งต้องการพลังประมวลผลขั้นสูง

การวัดประสิทธิภาพ

การทดสอบแสดให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ Intel® Core™ i7-920 ใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับ Intel Core™2 Quad Q9450

ประสิทธิภาพยอดเยี่ยมสำหรับภาระงานที่ต้องการพลังคำนวณสูง หากคุณจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลัง Intel® Core™ i7-920 คือคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณฟิสิกส์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือไดนามิกส์ของเหลว มั่นใจได้ใน Intel® Core™ i7 ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดของคุณ

มัลติทาสก์งานด้วย Adobe Premiere Elements* 4 และ ImToo* YouTube* to iPod* Converter

สามารถเปิด 2 โปรแกรมได้พร้อมกัน แทนที่จะใช้ทีละตัว Intel® Core™ i7-920 ช่วยให้คุณสัมผัสประสิทธิภาพการทำงานที่ราบรื่นในขณะที่ใช้โปรแกรมหลายๆ ตัวพร้อมกัน ผลการทดสอบที่ได้แสดงให้เห็นถึงเวลาที่ใช้ในการตัดต่อแก้ไขวิดีโอ 1 นาทีจากกล้องวิดีโอ HD พร้อมกับการแปลงไฟล์วิดีโอ Flash 5 ไฟล์ ความยาว 8 นาทีจาก YouTube

สร้างสไลด์โชว์ที่น่าประทับใจ

แบ่งปันความทรงจำดีๆ กับเพื่อนและครอบครัวด้วย DVD พีซี และเว็บ สร้างสไลด์โชว์ที่สวยงามน่าชมได้อย่างรวดเร็วด้วยIntel® Core™ i7-920 ใหม่ ผลที่ได้ ถูกประเมินเพื่อคำนวณจำนวนของภาพถ่ายที่คุณสามารถเตรียมได้โดยใช้เวลา 5 นาที

การตัดต่อวิดีโอโดยใช้ Adobe Premiere* Pro CS3

การทำงานกับข้อมูล HDV 1080p เป็นงานที่ต้องใช้ CPU และพลังในการคำนวณมหาศาล ด้วย Intel® Core™ i7-920 ใหม่ คุณสามารถใส่เอฟเฟกต์และเรนเดอร์วิดีโอ Hi-def ได้รวดเร็วกว่าที่เคย ผลที่ได้ถูกประเมินเพื่อคำนวณเวลาที่ใช้ในการตัดต่อแก้ไขและเรนเดอร์วิดีโอ Hi-Def ความยาว 5 นาที

สร้างวิดีโอและวิชวลเอฟเฟกต์ที่ล้ำสมัย
ในฐานะวิดีโอระดับมืออาชีพคุณต้องผ่านขึ้นตอนที่ต้องใช้เวลามากมายในการใส่ฟิลเตอร์และเอฟเฟกต์ต่างๆ เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์แบบสมกับที่คุณรอคอย Intel® Core™ i7-920 ช่วยให้คุณผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่เสียเวลารอได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นคุณจึงสามารถชมผลงานของคุณ และทำงานได้ทันเวลา ผลที่ได้ถูกประเมินเพื่อคำนวณเวลาที่ใช้ในการเข้ารหัสวิดีโอ Hi-Def ความยาว 30 นาที



[บน] cpuz แสดงรายละเอียดซีพียู Intel Core i7 920 2.66GHz

[ล่าง] cpuz แสดงรายละเอียดซีพียู Intel Core 2 Extreme QX9770 3.20GHz

ในการทดสอบเราได้เทสท์เปรียบเทียบซีพียูที่แรงที่สุดในตระกูล Core 2 คือตัว Core 2 Extreme QX9770 3.2GHz โดยใช้เมนบอร์ด XFX ชิพ nForce 780i แรม DDR2 800MHz 2GB ส่วนการ์ดจอเป็นตัวเดียวกันครับ มาเริ่มทดสอบด้วยโปรแกรมแบนช์มาร์กพื้นฐาน 3DMark06 ในชุด Core i7 ได้คะแนนรวมไปที่ 16,374 แต้ม ส่วนชุด QX9770 นั้นได้น้อยกว่าเล็กน้อยที่ 16,319 แต้ม ถ้าดูถึงคะแนนไม่เห็นถึงแตกต่างกันแต่อย่าลืมว่า Core i7 920 นั้นมีความเร็วสัญาณนาฬิกาต่ำกว่า QX9770 ถึง 540MHz มาดูคะแนนในส่วน 3DMark CPU Score ที่เน้นทดสอบเฉพาะซีพียูอย่างเดียว โดย Core i7 ได้ 5,383 แต้ม QX9770 ได้ 4,816 แต้ม ซึ่งในส่วนนี้เห็นความแตกต่างได้ว่าแพลตฟอร์ม Core i7 (Nehalem) นั้นแรงกว่า Core 2 สถาปัตยกรรม 45 นาโนเมตร (Penryn) ไปอีกระดับหนึ่ง

สำหรับเกมที่รองรับซีพียู 8 คอร์ ตอนนี้คือ Lost Planet ถึงแม้เกมจะเก่าแล้วแต่เอนจิ้นทำ ออกมาได้ดีมากใช้พลังของคอร์ทั้ง 8 คอร์ (4 คอร์แท้บวกกับ 4 คอร์เทียมของ Hyper - Threading) ของ Core i7 อย่างเต็มที่ มาดูผลทดสอบกันในฉาก cave ที่เน้นแรงประมวลผลของซีพียูในการคำนวน Ai เป็นหลักนั้น Core i7 ได้เฟรมเรตเฉลี่ยที่ 84 fps ส่วน QX9770 ได้ไปเพียง 66.1 fps ต่างกันเกือบ 20 เฟรมเห็นได้ว่าเกมที่รองรับซีพียูแบบมัลติคอร์จะแสดงถึงความแตกต่างของสถาปัตยกรรมเก่าและใหม่ได้อย่างดีความเร็วของฮาร์ดดิสก์SSDนั้นเป็นอีกเรื่องที่ขอบอกต่อว่ามันเร็วเอามากๆเห็นผลได้ชัดที่สุดคือตอนโหลดเข้าเกมต่างๆ นั้นเร็วขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดเจนอย่างCrysis ตอนโหลดเข้าฉากแต่ละฉากนั้นถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ธรรดาจะใช้เวลานานพอสมควร แต่พอใช้ SSD นั้นเร็วขึ้นแบบเท่าตัวเลย

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไดโอด


                                                     ไดโอด 

เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่จำกัดทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์กรองแรงดันไฟฟ้าในวงจรภาคจ่ายไฟ เป็นต้น
    ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสุญญากาศ (vacuum tube หรือ valves) แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน หรือ เจอร์เมเนียม
    ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโธด (Cathode; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n
   
 ไดโอดในอุดมคติ (Ideal Diode) มีลักษณะเหมือนสวิตช์ที่สามารถนำกระแสไหลผ่านได้ในทิศทางเดียว ถ้าต่อขั้วแบตเตอรี่ให้เป็นแบบไบอัสตรงไดโอดจะเปรียบเป็นเสมือนกับสวิตช์ที่ปิด (Close Switch) หรือไดโอดลัดวงจร (Short Circuit) Id ไหลผ่านไดโอดได้ แต่ถ้าต่อขั้วแบตเตอรีแบบไบอัสกลับ ไดโอดจะเปรียบเป็นเสมือนสวิตช์เปิด (Open Switch) หรือเปิดวงจร (Open Circuit) ทำให้ Id เท่ากับศูนย์
    ไดโอดในทางปฏิบัติ (Practical Diode) มีการแพร่กระจายของพาหะส่วนน้อยที่บริเวณรอยต่ออยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้น ถ้าต่อไบอัสตรงให้กับไดโอดในทางปฏิบัติก็จะเกิด แรงดันเสมือน (Ge >= 0.3V ; Si >= 0.7V)ซึ่งต้านแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเพื่อการไบอัสตรง ขนาดของแรงดันเสมือนจึงเป็นตัวบอกจุดทำงาน ดังนั้น จึงเรียก "แรงดันเสมือน" อีกอย่างหนึ่งว่า "แรงดันในการเปิด" (Turn-on Voltage ; Vt )
    
 กรณีไบอัสกลับ เราทราบว่า Depletion Region จะขยายกว้างขึ้น แต่ก็ยังมีพาหะข้างน้อยแพร่กระจายที่รอยต่ออยู่จำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังมีกระแสรั่วไหลอยู่จำนวนหนึ่ง เรียกว่า กระแสรั่วไหล (Leakage Current)เมื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้าขึ้นเรื่อยๆ กระแสรั่วไหลจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดทีไดโอดนำกระแสเพิ่มขึ้นมาก ระดับกระแสที่จุดนี้ เรียกว่า "กระแสอิ่มตัวย้อนกลับ" (Reverse Saturation Current ; Is ) แรงดันไฟฟ้าที่จุดนี้ เรียกว่า แรงดันพังทลาย (Breakdown Voltage) และถ้าแรงดันไบกลับสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่ไดโอดทนได้ เราเรียกว่า "แรงดันพังทลายซีเนอร์" (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ถ้าแรงดันไบอัสกลับสูงกว่า Vz จะเกิดความร้อนอย่างมากที่รอยต่อของไดโอด ส่งผลให้ไดโอดเสียหายหรือพังได้ แรงดันไฟฟ้าที่จุดนี้เราเรียกว่า แรงดันพังทลายอวาแลนซ์ (Avalance Breakdown Voltage) ดังนั้น การนำไดโอดไปใช้งานจึงใช้กับการไบอัสตรงเท่านั้น

ทรานซิสเตอร์


                                           ทรานซิสเตอร์

เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า คงค่าแรงดันไฟฟ้า หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทราสซิสเตอร์เปรียบได้กับวาลว์ที่ถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่มาจากแหล่งจ่ายแรงดัน
     ทรานซิสเตอร์แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar Junction Transistor, BJTs) และทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า (Field Effect Transistors,FETs) ทรานซิสเตอร์จะมีขาเชื่อมต่อสามจุด อธิบายโดยย่อคือเมื่อมีการปรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้าที่ขาหนึ่งจะส่งผลให้ความนำไฟฟ้าระหว่างขาที่เหลือสูงขึ้นอันทำให้สามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามหลักทางฟิสิกส์ในการทำงานของทรานซิสเตอร์ทั้งสองแบบ(ชนิดรอยต่อคู่และชนิดสนามไฟฟ้า)มีความแตกต่างกันอยู่มาก ในวงจรอนาลอกนั้นทรานซิสเตอร์จะถูกใช้ขยายสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณเสียง สัญญาณความถี่วิทยุ หรือควบคุมระดับแรงดัน รวมทั้งเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิชชิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ทราสซิสเตอร์ก็ยังถูกใช้ในวงจรดิจิทัล เพียงแต่ใช้งานในลักษณะการเปิด/ปิดเท่านั้น วงจรดิจิทัลเหล่านั้นได้แก่ วงจรตรรกะ (Logic gate), หน่วยความจำแบบสุ่ม (Random Access Memory, RAM) และไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นต้น

ประเภทของทรานซิสเตอร์
  --ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar junction transistor)
ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (BJT) เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง มันเป็นอุปกรณ์สามขั้วต่อถูกสร้างขึ้นโดยวัสดุสารกึ่งตัวนำที่มีการเจือสารและอาจจะมีการใช้ในการขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สวิทชิ่ง ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ถูกตั้งขึ้นมาตามชื่อของมันเนื่องจากช่องการนำสัญญาณหลักมีการใช้ทั้งอิเล็กตรอนและโฮลเพื่อนำกระแสไฟฟ้าหลัก
  --ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า (Field-effect transistor)
ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า(FET) มีขาต่อสามขา คือ ขา เดรน(drain) เกท(gate) ซอร์ส(source) หลักการทำงานแตกต่างจากทรานซิสเตอร์แบบหัวต่อไบโพลาร์(BJT) นั่นคืออาศัยสนามไฟฟ้าในการสร้างช่องนำกระแส(channel) เพื่อให้เกิดการนำกระแสของตัวทรานซิสเตอร์ ในแง่ของการนำกระแส ทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้าและแบบหัวต่อไบโพลาร์มีลักษณะของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน นั่นคือกระแสในทรานซิสเตอร์แบบหัวต่อไบโพลาร์จะเป็นกระแสที่เกิดจากพาหะส่วนน้อย(minor carrier) แต่กร

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2